ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคของประชาชน โดยตรงและอ้อม  ดูในบิล 7-11 จะเห็นว่าโดนบวก Vat ไว้ 7% หมด บุคคลธรรมดาดูเสร็จก็โยนทิ้งไป.... แต่ บริษัท ก็เก็บไว้ เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทเอาไปหักภาษีปลายปี หรือ ถ้าเกี่ยวข้องกับกิจการก็..เอาไปใช้หักลบ Vat ขายได้... 
ใครหนอจะออกใบกำกับภาษีได้บ้าง ว่าไปตามเว็บกรมสรรพากร http://vsreg.rd.go.th/

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียน
 
1.
ผู้ประกอบการฯ ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
 
1.1
ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี อันนี้เข้าอัตโนมัติ พร้อมค่าปรับย้อนหลัง
  
1.2
ผู้ประกอบการซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ก่อสร้างโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักร
  
แบบฯ ที่ใช้ ได้แก่ แบบภ.พ.01 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
  
  • ต้องระบุวันที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในคำขอ
  • ยื่นคำขอก่อนวันประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นคำขอ
 
2.
ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนดในมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร และประสงค์ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
  
2.1
ผู้ประกอบการขายสินค้าตามมาตรา 81(1) (ก) ถึง (ฉ)
  
2.2
ผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

ทำไมต้องขอใบกำกับภาษีกันละ..?  เรื่องของเรื่อง   ไม่มีใครอยากยุ่งหรอก.. แต่.บริษัทที่ไปติดต่อ เขาขอ.ภพ.20 เขาถึงให้งาน ก็ต้องทำ...        กฏหมายกำหนดให้บริษัทที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียน VAT     ถ้าบริษัทไหนรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี จะเลือกจดหรือไม่จด VAT ก็ได้

อัตราภาษี: 7% ของยอดขายสินค้าหรือบริการ

การยื่นแบบ: ทุกเดือนบริษัทจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย สรุปยอดประจำเดือน ด้วยแบบ ภ.พ. 30 นำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 15 นับจากสิ้นเดือน

ค่าปรับ: ยื่นแบบล่าช้าปรับ 500 บาท/ครั้ง

จุดที่เกิดภาษี (Tax Point): 1. เมื่อได้รับชำระเงิน 2. เมื่อส่งมอบสินค้า 3. ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่อะไรจะเกิดก่อน

กิจกรรมที่ได้รับยกเว้น VAT ได้แก่ โรงเรียน ขายสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ยา

กิจกรรมที่ได้เสีย VAT ในอัตรา 0% ได้แก่ พวกส่งออก ขายสินค้าให้กับสถานทูต และกงศุล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฟอร์มใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ของ บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้ (ประเทศไทย) จำกัด        เขียนที่    บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) วันที่  5  เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 เรื่อง       ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เรียน      กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น  บริษัท     ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) จำกัด                 ข้าพเจ้า  นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย    ตำแหน่งกรรมการบริษัท    ยิ่งค้ายิ่งรวย   ช่วยไม่ได้  (ประเทศไทย) จำกัด  มีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ  ของบริษัท ฯ  เนื่องด้วยเหตุผลไปประกอบกิจการอื่น จึงขอสิ้นสุดการทำงานตั้งแต่ วันที่ 5 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2555                 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ                                                                    ขอแสดงความนับถือ                                                           ……………………………………..                                                                    (นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย  )                                                                    

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น ของ บริษัท xxxxxxxxxxxxxxx จำกัด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553                    บริษัท ปปปปปปปปปปปปป จำกัดได้รับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น เป็นเงิน สี่แสนบาทถ้วน (400,000) จาก ปปปปปปปปปปปปป เพื่อเป็นค่าหุ้น จำนวน สี่พัน (4,000) หุ้น จากการจัดตั้ง บริษัท ปปปปปปปปปปปปปปป จำกัด   โดยชำระเป็นเงินสด สี่แสนบาทถ้วน (400,000) หรือเช็คธนาคาร - สาขา - เช็คเลขที่ - ลงวันที่ - ไว้เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ....................................................ผู้รับเงิน (ปปปปปปปปปปปป) กรรมการ / หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อมูลนี้อยู่ในส่วน การ รับจะทะเบียนบริษัท