ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

การเตรียมตัว..สำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีซื้อ 2558

การเตรียมตัวไปซื้อของตามห้างสรรพสินค้า 1. บริษัทควรมีสำเนาเอกสาร ภพ.20 ใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เราเรียกกันว่า ใบลายน้ำไปด้วย  ให้ห้างร้านค้าแล้วออกใบกำกับภาษีตามใบนั้น ที่อยู่ตามนั้น 2. ตรวจเอกสารการออกใบกำกับภาษีต้องปรากฏข้อความดังนี้ (ถ้าไม่มีไม่ต้องจ่ายตังค์ 555+) ก็แก้ไขให้ถูกต้องก่อนแล้วค่อยออกจากร้านขอรับ... -   ชื่อบริษัท  ที่อยู่ตรงกับ ใบทะเบียนภาษีมุลค่าเพิ่มไหม - ต้องระบุเลขทะเบียนนิติบุคคล เริ่มต้นด้วย   020-555x-000-000   (เขียนติดกันนะอย่าแยก) นับดูว่า ครบ 13 ตัว ไหม ? - ต้องระบุด้วยว่า...."สำนักงานใหญ่".. ... มีหรือไม่มีสาขาก็ระบุไปว่า...สำนักงานใหญ่  เขียนเต็มไปเลยได้ แต่.ถ้าอยากเขียนย่อ คิดว่าจะสวยงามก็ได้   เช่น     “สนญ” “HO”    hea d o ffice HQ   หรือ    hea d o ffice HO  “HQ”                ถ้ามีสาขาก็ระบุว่า สาขาที่...... ถ้ายื่นรวมกับสำนักงานใหญ่ ก็ระบุไปว่าสาขา พอคำนวณภาษีเขาก็คิดรวมกับสำนักงานใหญ่ แต่. ถ้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแยกสาขา ก็แยกยื่นได้ แล้วแต่สะดวก ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 ถ้ามีใบ ภ.พ. 20 ติดด้วยท่

เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ----------------------                      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษี ดังต่อไปนี้                       ข้อ ๑  ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 196) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน                              “ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื

มาตรา 14 ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน

     มาตรา 14  ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน http://www.rd.go.th/publish/5943.0.html#mata19 วิเคราะห์หัวข้อที่พูดถึงกัน จากเว็บ pantip  http://pantip.com/topic/30756937 เกี่ยวกับภาษีย้อนหลัง จากข้อความในกระทู้.... "  มาตรา 19  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าว จะต้องกระทำภายในเวลาสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้น จะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือเป็นกรณีจำเป็น

หนังสือรับรองว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว

หนังสือรับรองว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว ****************                   ข้าพเจ้า นายร่ำรวย ยิ่งใหญ่  รหัสบัตรประชาชนเลขที่  123456891234 อายุ 60 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 888/888 ต.แปด อ.แปด จ.88  โทร.089-931-xxxx                    ขอให้การรับรองว่า  นายน้อยหน่า  นามสกุล บักเขี่ยม รหัสบัตรประชาชน 1234567899874 อายุ บ้านเลขที่   888/888 ต.แปด อ.แปด จ.88  มีความเกี่ยวข้อง เป็น.........บุตร/ลูกสะใภ้/ลูกเขย   เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูข้าพเจ้านายร่ำรวย ยิ่งใหญ่  โดยให้เงินรวมทั้งปี  30,000 บาท   ตามกำหนดของรัฐบาล จึงขอรับรองข้อความดังกล่าวมานี้ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ....................................................... (นายร่ำรวย ยิ่งใหญ่) เอกสารประอบ -สำเนาบัตรประชาชนผู้ได้รับการเลี้ยงดู

ลดหย่อนภาษี

แยกแยะจากประกาศกรมสรรพากร ด้านล่าง 1. เบี้ยประกันชีวิต ไม่เกิน  100,000 บาท 2. ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 3. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ (ต้องมีอาย 60 ปีขึ้นไป ) ไม่เกินคนละ 30,000 บาท ให้มากกว่านั้นไม่ได้ 555+ ปีหนึ่งมี 365 วัน เอาหาร 30,000  ให้พ่อแม่ได้วันละ 82.19 บาท  รัฐบาลให้กินเท่านั้น... 4.มีสามีหรือภรรยา ที่ไม่มีรายได้ หักได้ 30,000 ให้ใช้วันละ 82 บาทอีกนั่นแหล่ะ 5. มีลูกให้ใช้แค่  คนละ 15,000 บาท  ความหมายคือ ให้ลูกใช้วันละ  41 บาทเท่านั้นนะ. 6. เงินบริจาคเข้าวัด    สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ   ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว นอกเสียภาษี  อ้างอิงข้อมูลไม่ได้เขียนมั่ว  ๆ -http://www.rd.go.th/publish/557.0.html -http://www.rd.go.th/publish/45879.0.html -http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/images/image_news/news13_2557.pdf กรมสรรพากร Revenue Department News เลขที่ข่าว ปชส. 13/2557 วันที่แถลง

อัตราภาษีบุคคลธรรมดา 2557

ตาม พรฏ.575 ลดอัตราภาษีเงินได้ ดังนี้ เงินได้สุทธิ                                                              อัตราภาษี สวนที่ไม่เกิน  300,000 บาท                                     ร้อยละ 5 สวนที่เกิน    300,000 แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ร      ร้อยละ 10  สวนที่เกิน    500,000 แต่ไม่เกิน 750,000 บาท         ร้อยละ 15 สวนที่เกิน    750,000 แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท      ร้อยละ 20  สวนที่เกิน    1,000,000 แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท   ร้อยละ 25 สวนที่เกิน    2,000,000 แต่ไม่เกิน 4,000,000 บาท   ร้อยละ 30  สวนที่เกิน    4,000,000 บาทขึ้นไป                           ร้อยละ 35 หลักการ 1. กำหนดให้อัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดามี 7 ขั้นอัตรา  จากเดิม 5 ขั้นอัตรา 2. เปลี่ยนอัตราภาษีสูงสุดเป็น ร้อยละ 35 จากเดิม ร้อยละ 37 3. ใช้สำหรับปี ภาษี 2556 และปี ภาษี 2557 4. 4. เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับยกเว้นตาม พรฎ. 470 ทุกตัวอักษรจาก rd.go.th

งานประชุมนักบัญชีทั่วประเทศ ครั้งที่19 2557

นักบัญชี

ใบกำกับภาษี 2557

ขยายเวลา..ออกไป ที่มา: http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/vat_271256.pdf กรมสรรพากรขยายเวลาการเพิ่มรายการในใบกำกับภาษี   ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 194)ฯ (ฉบับที่ 195)ฯ (ฉบับที่ 196)ฯ และ (ฉบับที่ 197)ฯ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ก าหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ เพิ่มเติมรายการเลขประจ าตัว ผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และเพิ่มเติมรายการสถาน ประกอบการของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ในการจัดท าใบก ากับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และในการ ลงรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป นั้น  กรมสรรพากรได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ เพิ่มเติมรายการดังกล่าวข้างต้น ในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และในการลงรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558  เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามประกาศอ

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ