ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2012

รายจ่ายของบริษัทขนาดเล็ก

บริษัทขนาดเล็ก ที่ประสบปัญหาคือ มีรายได้มาก แต่.แทบไม่มีรายจ่ายเลย เพราะเป็นงานบริการ แต่.ท่านรู้ไหมว่า มีรายจ่ายที่ถูกต้องที่ท่านมิได้คิดถึงมากมายนำมาเป็นรายจ่ายได้ 1. อุปกรณ์สำนักงานของบริษัท โต๊ะ คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ น้ำหมึก ปากกา ดินสอ 2. เงินเดือน ของกรรมการ สามารถตั้งยอดเพดานได้ 20,000 บาท โดยไม่ต้องคิดมาก ยิ่งกรรมการไม่มีรายได้อื่นนี่ ไม่ต้องนำอะไรมาคำนวนให้ยุ่งยาก  กรรมการ มีสัก 5 คน ก็  5 x 20,000 = 1 แสนบาทแล้ว หุ ๆ รายจ่ายเป็นแสน บางบริษัท ลืมคิดจริง ๆ ว่า คนทำงานต้องได้เงิน 3. รายจ่ายจิปาถะ  ค่าน้ำชา กาแฟ ค่ารถ ค่าน้ำมัน 4. ค่าน้ำมัน  น้ำมันที่ใช้ได้ดีคือ  "น้ำมันดีเซล" ในรถกระบะตอนเดียว  ใครไม่มีก็ไปหามาใช้ซะในนามบริษัท สามารถนำเป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มเม็ดเลยทีเดียวเชียว บิลน้ำมันนะ..ให้เขาเขียนมาก่อนพริ้นต์ด้วยว่า  บริษัท....จำกัด  และระบุเลขทะเบียนรถลงไปด้วยว่าทะเบียนอะไร   หุ ๆ รายจ่าย

ธุรกิจก่อสร้าง ตายเพราะภาษี

ธุรกิจที่อ่อนไหวต่อระบบบัญชีมากที่สุด คือการก่อสร้าง รวมถึงการสร้างบ้าน อุปสรรคสำคัญในการบริหารงานด้านการก่อสร้าง 1. ความอ่อนไหวเกิดจากผู้รับเหมาก่อสร้าง ค่าแรง การทำสัญญาจ้าง 2. ความอ่อนไหวจาก การคุมงานก่อสร้างให้ได้มาตรฐานตามแบบ 3. ความเสี่ยงบ้านที่ขายไม่ได้ 4. เงินทุน การระดมเงินทุน ต้องใช้จำนวนมาก ธนาคารไม่ได้ปล่อยให้ยืมง่าย ๆ  ถ้าทำแค่เสา ก็ปล่อยกู้แค่เสา เท่าไรเท่านั้้น ส่วนเหลือ ๆ ต้องไปหามาเอง. 5. บิลที่ไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้ เช่น ผู้รับเหมาไม่ยอมให้หัก ณ ที่จ่าย 3 % กรณีศึกษา ผู้รับเหมารายหนึ่ง เป็นบุีคคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนอะไร  รับงานจากบริษัท ก.ไก๋  รับเป็นงวด ๆ งวดแรก วันที่ 1 รับมา  5 แสนบาท นำไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ร้านค้า  ก็ไม่ได้เอาบิลอะไรมา ก็ต้องนำเงิน 5 แสนมาคำนวนหา ค่าแรงการหัก ณที่จ่ายค่าจ้าง...ไป --- เขียนไม่จบ--- ร่างโครงไว้ก่อน

หัก ณ ที่จ่าย

ค่าบริการทั่วไป                     หัก ณ ที่จ่าย  3 % ค่าบริการด้านขนส่ง               หัก ณ ที่จ่าย  1 % ค่าบริการด้านขนส่งถ้ามีการจ้างทำของรวม            หัก ณ ที่จ่าย  3 % ค่าบริการด้านส่งเสริมการขาย                                 หัก ณ ที่จ่าย  5 % พวกของรางวัล ค่าประกันชีวิต                      หัก ณ ที่จ่าย  1 % (วินาศภัย)