ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2013

ประกันสังคม - เปลี่ยนสถานพยาบาล ดูก่อน..ตัดสินใจบางทีเต็ม..

ตรวจสอบได้จาก... ล่าสุด ณ วันที่ 5  กุมภาพันธ์ 2556 http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/ok05022556.pdf สำนักงานประกันสังคมแจ้งผู้ประกันตนยื่นเปลี่ยน รพ.ได้ถึง 29 มีนาคม 2556 นี้             สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจ้งผู้ประกันตนที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2556 สามารถยื่นแบบเลือกสถานพยาบาล (สปส.9-02) ได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2556 แนะผู้ประกันตนเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง คำนึงถึงความสะดวก พึงพอใจ และความพร้อมของสถานพยาบาลที่ใช้บริการทางการแพทย์           นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าสำนักงานประกันสังคมได้ให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมเพื่อใช้บริการทางการแพทย์ มีอายุคราวละ 2 ปี โดยผู้ประกันตนจะขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลปี 2554 – 2555 สำนักงานประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลฉบับใหม่ให้กับผู้ประกันตนเพื่อแทนบัตรรับรองสิทธิฯที่จะหมดอายุวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยระบุสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯเดิม หากผู้ประกัน

คำเตือน จาก คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า-การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

คำเตือน  คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องการใช้ “นอมินี” ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ................................................................................ ตามที่มีข่าวว่ามีนายทุนต่างชาติได้เข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกข้าวโดยว่าจ้างคนไทยให้ถือหุ้นแทนหรือให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ในลักษณะ”นอมินี” เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยง หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขอเรียนชี้แจงว่าการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร อาทิเช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การทำการประมง และธุรกิจอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นธุรกิจที่สงวนไว้ให้คนไทยโดยห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยเด็ดขาด ซึ่งคนต่างด้าวที่ถูกห้ามประกอบธุรกิจดังกล่าว ได้แก่                  1.  บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย                  2.  นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย                  3.  นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีหุ้นหรือทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคล   หรือนิติบุคคลตาม(1) หรือ(2)

รอบระยะเวลาบัญชี

กรณีบริษัทเปิด กลางปี  ก็นับรอบตั้งแต่เดือนที่เปิด              เช่นเปิด  เดือนสิงหาคม ก็นับไปจนครบ 12 เดือน คือเดือน กรกฏาคมของปีถัดไป..เป็น 1 รอบ แต่หาก ตัองการให้เป็นรอบปกติ คือ เปิดบริษัทเดือนสิงหาคม จะให้สิ้นสุด เดือนธันวาคม แล้วเริ่มรอบใหม่ คือ มกราคม ก็สามารถทำได้เลย... บริษัทฝรั่งนิยมทำกันเพื่อให้ตรงกับบริษัทใหญ่ แต่.บริษัทเล็กมักไม่ทำกัน เพราะจะเสียค่าสอบบัญชีไวไป  เท่านั้นเอง..             ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ (1)   รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ (2)   รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้ มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ          ก.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่