ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มาตรา 14 ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน

    มาตรา 14 ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน

http://www.rd.go.th/publish/5943.0.html#mata19

วิเคราะห์หัวข้อที่พูดถึงกัน จากเว็บ pantip  http://pantip.com/topic/30756937
เกี่ยวกับภาษีย้อนหลัง

จากข้อความในกระทู้....

"  มาตรา 19  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าว จะต้องกระทำภายในเวลาสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้น จะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร

สรุปง่าย ๆ ว่าเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ประเมินย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี แต่ถ้าจะขยายเป็น 5 ปีต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี ดังนั้นกรณีนี้ไม่ต้องเสียเงินย้อนหลัง ไม่ว่าจะเป็นภาษีที่คำนวณผิด ค่าปรับ หรือดอกเบี้ย จบแล้วครับ ให้เข้าไปพบสรรพากรพร้อมพิมพ์ประมวลรัษฎากรข้อนี้ไปด้วย แต่เวลาไปเจรจาไม่ใช่ไปคุยเฉย ๆ นะครับ ให้ไปคุยกับคนที่ส่งจดหมายมา ตำหนิเขาว่าเขาไม่มีความรู้เรื่องกฏหมาย มาเป็นเจ้าหน้าที่ได้อย่างไร ได้รับการอบรมที่ดีหรือเปล่า เพราะแค่ประมวลรัษฎากรพื้น ๆ แค่นี้ยังไม่เข้าใจ เข้าไปคุยกับหัวหน้าเลยว่าลูกน้องไม่มีความรู้ รับเข้ามาได้ยังไง

คุณอาจจะเจอข้อแก้ตัวของสรรพากร เช่น
- ส่งจดหมายไปแล้ว : แต่ส่งไปที่อยู่เก่า เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรต้องอัพเดทข้อมูลกับกระทรวงมหาไทยเอง การส่งจดหมายไปที่อยู่ผิดเป็นความผิดพลาดของสรรพากร ไม่ใช่ของเรา และหากส่งจดหมายแล้วแต่เราไม่มา ต้องมีหมายเรียก แล้วหมายเรียกอยู่ไหน แสดงว่าเรื่องในปี 2551 จบไปแล้ว
- ระบบคอมพิวเตอร์ไม่อัพเดท :  ถ้าระบบคอมพิวเตอร์ไม่มีคุณภาพ ใครเป็นคนพัฒนา ใครเป็นคนจัดซื้อจัดจ้าง ใครเป็นคนเป็นคนเซ็นรับงาน เพราะนั่นหมายถึงการคอรัปชั่น ให้ทำหนังสือมาเราจะไปแจ้ง ปปช. และผู้ตรวจการแผ่นดินว่าเราได้รับความเดือดร้อนจากการคอรัปชั่นของช้าราชการ
- มุขสุดท้าย "ช่วยจ่ายหน่อยเถอะ" : ให้เขาทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรมา เพื่อเราจะได้เอามาประจานว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินหน้าที่ เพราะเรียกย้อนหลัง 7 ปี ทั้งที่มีอำนาจย้อนหลังได้แค่ 2 ปี

เพื่อนผมก็เจอปัญหาเหมือนคุณเลย คำนวณภาษีผิดเมื่อ 7 ปีที่แล้วจะเรียกค่าปรับพร้อมดอกเบี้ย ผมเข้าไปเคลียร์ให้แล้วสรุปว่าไม่ต้องจ่าย ถ้าคุณ จขกท. มีอะไรหลังไมค์มาได้ครับ เพราะจะเป็นการเปิดตัวมากเกินไป "

ความจริงคือ..................

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฟอร์มใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ของ บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้ (ประเทศไทย) จำกัด        เขียนที่    บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) วันที่  5  เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 เรื่อง       ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เรียน      กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น  บริษัท     ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) จำกัด                 ข้าพเจ้า  นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย    ตำแหน่งกรรมการบริษัท    ยิ่งค้ายิ่งรวย   ช่วยไม่ได้  (ประเทศไทย) จำกัด  มีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ  ของบริษัท ฯ  เนื่องด้วยเหตุผลไปประกอบกิจการอื่น จึงขอสิ้นสุดการทำงานตั้งแต่ วันที่ 5 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2555                 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ                                                                    ขอแสดงความนับถือ                                                           ……………………………………..                                                                    (นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย  )                                                                    

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น ของ บริษัท xxxxxxxxxxxxxxx จำกัด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553                    บริษัท ปปปปปปปปปปปปป จำกัดได้รับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น เป็นเงิน สี่แสนบาทถ้วน (400,000) จาก ปปปปปปปปปปปปป เพื่อเป็นค่าหุ้น จำนวน สี่พัน (4,000) หุ้น จากการจัดตั้ง บริษัท ปปปปปปปปปปปปปปป จำกัด   โดยชำระเป็นเงินสด สี่แสนบาทถ้วน (400,000) หรือเช็คธนาคาร - สาขา - เช็คเลขที่ - ลงวันที่ - ไว้เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ....................................................ผู้รับเงิน (ปปปปปปปปปปปป) กรรมการ / หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อมูลนี้อยู่ในส่วน การ รับจะทะเบียนบริษัท