ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การออกใบกำกับภาษี และ เลขที่ใบกำกับภาษี


ทั่วไป นิยม  ขึ้นต้นด้วย   IN-ตามด้วย ปี  ตามด้วย...เดือน   และ ลงท้ายด้วย.... เลขที่.....

ตัวอย่างที่  1.     
บริษัท เอบีซี จำกัด   เลขที่ใบกำกับภาษี    IN13070001  ความหมายคือ  ปี 2013-เดือน  กรกฎาคม  เลขที่  1  ถ้าคาดกว่า  เดือนหนึ่งออกไม่เกิน 300 ก็ใช้แค่  001 ก็พอ...

ตัวอย่างที่ 2. 
บริษัท เอบีซี จำกัด   เลขที่ใบกำกับภาษี    IN1307-0001  ความหมายคือ  ปี 2013-เดือน  กรกฎาคม  เลขที่  1  ถ้าคาดกว่า  เดือนหนึ่งออกไม่เกิน 300 ก็ใช้แค่  001 ก็พอ...

ตัวอย่างที่ 2. 
บริษัท เอบีซี จำกัด   เลขที่ใบกำกับภาษี    IN001-072013  ความหมายคือ  ปี 2013-เดือน  กรกฎาคม  เลขที่  1  ถ้าคาดกว่า  เดือนหนึ่งออกไม่เกิน 300 ก็ใช้แค่  001 ก็พอ...

ข้อห้ามคือ   ห้ามข้ามตัวเลข  ต้อง เรียงเลข.....1   2   3  ถ้ายกเลิกใบกำกับภาษี  ก็ต้อง  เรียงไปเลย.... ห้ามเอามาใช้แทน...กัน เด็ดขาด  ถ้าไม่อยากไปหาสรรพากร
ตาม สรรพากร
การออกใบกำกับภาษี     
       ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง
         - กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
         - กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ
        ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้
         - ต้นฉบับ ผู้ประกอบการต้องส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
         - สำเนา ผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ทำรายงาน
        สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากผลการคำนวณภาษีปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ถือเป็นเครดิตภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้
        ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ก็มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฟอร์มใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ของ บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้ (ประเทศไทย) จำกัด        เขียนที่    บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) วันที่  5  เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 เรื่อง       ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เรียน      กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น  บริษัท     ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) จำกัด                 ข้าพเจ้า  นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย    ตำแหน่งกรรมการบริษัท    ยิ่งค้ายิ่งรวย   ช่วยไม่ได้  (ประเทศไทย) จำกัด  มีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ  ของบริษัท ฯ  เนื่องด้วยเหตุผลไปประกอบกิจการอื่น จึงขอสิ้นสุดการทำงานตั้งแต่ วันที่ 5 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2555                 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ                                                                    ขอแสดงความนับถือ                                                           ……………………………………..                                                                    (นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย  )                                                                    

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น ของ บริษัท xxxxxxxxxxxxxxx จำกัด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553                    บริษัท ปปปปปปปปปปปปป จำกัดได้รับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น เป็นเงิน สี่แสนบาทถ้วน (400,000) จาก ปปปปปปปปปปปปป เพื่อเป็นค่าหุ้น จำนวน สี่พัน (4,000) หุ้น จากการจัดตั้ง บริษัท ปปปปปปปปปปปปปปป จำกัด   โดยชำระเป็นเงินสด สี่แสนบาทถ้วน (400,000) หรือเช็คธนาคาร - สาขา - เช็คเลขที่ - ลงวันที่ - ไว้เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ....................................................ผู้รับเงิน (ปปปปปปปปปปปป) กรรมการ / หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อมูลนี้อยู่ในส่วน การ รับจะทะเบียนบริษัท