ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ค่ารับรอง

ค่ารับรอง คืออะไรน้อ   ทำยังไงจะไม่กลายเป็น เงินใต้โต๊ะ


มาดูข้อความด้านล่างก่อนนะ...  
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยภาษีเงินได้

---------------------------------------------

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1   ค่ารับรองหรือค่าบริการที่จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5

                ข้อ 2   ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย  ก็คือไม่ใช่พนักงานไปเลี้ยงกินกันเอง  หรือ เจ้าของกิจการไปกินข้าวตามร้านอาหารแล้วนำบิลมา..

                ข้อ 3  ค่ารับรองหรือค่าบริการ ต้อง
                      (1) เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น หรือ
                      “(2) เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ”

                ข้อ 4  จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)

                ข้อ 5  ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง หรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร

                ข้อ 6  กฎกระทรวงฉบับนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป

ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2522

ชาญชัย ลี้ถาวร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

____________________________________________________________________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำค่ารับรองหรือค่าบริการมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

(ร.จ. เล่ม 96 ตอนที่ 156 วันที่ 13 กันยายน 2522)


         ค่ารับรองเกิดขึ้นได้กับทุกบริษัท   สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ เรามาดูค่ารับรองตามที่สรรพากรกำหนดมีดังนี้         1. ค่ารับรอง ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย      2. ค่ารับรอง      - เป็นค่าใช้จ่ายที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น     - เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ”        3. ค่ารับรอง ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง
         4. จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฟอร์มใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ของ บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้ (ประเทศไทย) จำกัด        เขียนที่    บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) วันที่  5  เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 เรื่อง       ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เรียน      กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น  บริษัท     ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) จำกัด                 ข้าพเจ้า  นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย    ตำแหน่งกรรมการบริษัท    ยิ่งค้ายิ่งรวย   ช่วยไม่ได้  (ประเทศไทย) จำกัด  มีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ  ของบริษัท ฯ  เนื่องด้วยเหตุผลไปประกอบกิจการอื่น จึงขอสิ้นสุดการทำงานตั้งแต่ วันที่ 5 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2555                 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ                                                                    ขอแสดงความนับถือ                                                           ……………………………………..                                                                    (นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย  )                                                                    

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น ของ บริษัท xxxxxxxxxxxxxxx จำกัด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553                    บริษัท ปปปปปปปปปปปปป จำกัดได้รับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น เป็นเงิน สี่แสนบาทถ้วน (400,000) จาก ปปปปปปปปปปปปป เพื่อเป็นค่าหุ้น จำนวน สี่พัน (4,000) หุ้น จากการจัดตั้ง บริษัท ปปปปปปปปปปปปปปป จำกัด   โดยชำระเป็นเงินสด สี่แสนบาทถ้วน (400,000) หรือเช็คธนาคาร - สาขา - เช็คเลขที่ - ลงวันที่ - ไว้เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ....................................................ผู้รับเงิน (ปปปปปปปปปปปป) กรรมการ / หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อมูลนี้อยู่ในส่วน การ รับจะทะเบียนบริษัท