ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เงินกู้ยืมกรรมการ

เป็น talk  of the town ในวงการบัญชี

เงินกู้ยืมกรรมการต้องคิดดอกเบี้ยไหม ??  สรรพากรโทรมาบอกว่า ทำไมไม่คิดดอกเบี้ย ? ทำไม ๆ

กรรมการบริษัทก็ทำหน้างง  ๆ ยืมตอนไหนอ่ะ  ผมยืมตอนไหน  ผมบ่รู้เรื่องเลย

สรรพากรก็บอกดูในงบการเงินสิจ๊ะ  เงินกู้ยืมกรรมการก้อนเบ่อเร่อ

กรรมการก็งง ผมยืมตอนไหน ผมไม่ได้ยืม

สรรพากร ก็ถามต่ออีก แล่ว ๆ  เอาเงินจากไหนมาจดบริษัท

กรรมการก็บอกว่า... ผมมีเงินไม่ถึงล้านหรอก.. ตอนจดทะเบียนบริษัท เขาก็ไม่ได้ขอดูว่ามีเงินไหม
ผมมีแค่ 2 หมื่น จดทะเบียนบริษัทไม่ถึง 2 หมื่น อ่ะ

สรรพากร ก็แจ้งมาว่า ไม่รู้ล่ะ ตัวเองต้องคิดดอกเบี้ยสิ คิดดอกเบี้ย แล้วเป็นเงินได้บริษัท >>ตัวเองต้องจดภาษีธุรกิจเฉพาะด้วยนะ นี่แบบ ภธ.01 เลือกเอา นี่ ข้อ 1 ธุรกิจธนาคาร ข้อ 2 ธุรกิจเงินทุน 2-3-4-5-6-หรือข้อ 7 ธุรกิจเยี่ยงธนาคาร

กรรมการบริษัท ก็ งง  และ งง เอ่อ ผมไม่ได้ทำธุรกิจดอกเบี้ยนะ.. เออ.. ทำไงดีล่ะ




https://pantip.com/topic/35899421

"""........  3. เรื่องทุนจดทะเบียน ตอนจะจัดตั้งบริษัท เรื่องนี้เราว่าสำคัญมาก ตอนนี้เกือบทุกคนเข้าใจผิดกันหมด เพราะ สนง.บัญชีระดับล่างพวกนี้แหละ คือเดิมที ลูกค้าเวลาจะจัดตั้งบริษัท ก็จะเข้าใจถูกอยู่แล้ว ว่า จดทะเบียนเท่าไหร่ ก็ควรมีสินทรัพย์เท่านั้น ถ้ามีสินทรัพย์ 100,000 ก็จดทะเบียน 100,000 นี่คือความเข้าใจที่ถูก
     แต่คงเป็นเวรเป็นกรรมของลูกค้าที่ใช้ สนง.บัญชีที่ไม่รู้บัญชีพื้นฐาน พวกนี้จะสอนลูกค้าว่าไม่จำเป็น พร้อมนำเสนอจำนวนทุนจดทะเบียนยอดฮิต 1 ล้านบาท โดยบอกว่าไม่มีเงินและไม่มีสินทรัพย์อื่น (หรือมีแค่นิดเดียว) ก็จดได้แล้ว ซึ่งผิดถนัด เราจะชี้แจงให้ดู
     ตามสมการบัญชีอย่างง่ายเลยนะ     สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
      ถ้าคุณจะตั้งบริษัท โดยไม่มีหนี้สิน สมการก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ คือ      "สินทรัพย์ = ทุน"  พอเห็นภาพหรือยัง
     ทีนี้ เมื่อไม่มีสินทรัพย์ แล้วจะมีทุนได้ยังไง ในเมื่อลูกค้าไม่มีสินทรัพย์ แต่ สนง.บัญชีนี้ พยายามอุปโลกทุนให้ลูกค้าด้วยจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ถามว่าอะไรเกิดขึ้นต่อไป  ก็ต้องอุปโลกจำนวน "สินทรัพย์" ขึ้นมาให้เท่ากับทุน กลายเป็น
         "ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกรรมการ = ทุน"   ซึ่งเป็นของที่อุปโลก ตั้งขึ้นมาลอยๆ ทั้ง 2 ฝั่ง (ทั้งฝั่งเดบิตและเครดิต) แล้วมันจะถูกมาตรฐานบัญชีได้ยังไง  ปัญหามันก็พันไปถึงประเด็นในข้อ 1 อีกแล้ว (เรื่องคิดดอกเบี้ย) กลายเป็นงบการเงินเละทะไปหมดเลย 

...................."""""



กรรมการให้บริษัทกู้ยืมเงิน
บทความวันที่ 1 ก.ย. 2559  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 11929 ครั้ง

                                                                              เงินกู้ยืมจากกรรมการ

        กรณีกรรมการบริษัทฯ นำเงินส่วนตัวออกมาให้บริษัทของตนเองกู้ยืมเพื่อลงทุน โดยออกเป็นลักษณะตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยไม่ได้ให้กู้เป็นการทั่วไป ให้เฉพาะบริษัทของตนเองกู้ นั้น กรมสรรพากรได้เคยมีแนววินิจฉัยว่า การที่บุคคลธรรมดาผู้ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทฯ ได้นำเงินของตนเองมาให้บริษัทฯ กู้ยืมหากบุคคลดังกล่าวมิได้มีการประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อน และการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว มิได้มีการหาเงินจากที่อื่นมาโดยการกู้ยืมอยู่ด้วย การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด ตามหนังสือตอบข้อหารือดังต่อไปนี้

เลขที่หนังสือ : กค 0811/05502
วันที่            : 11 มิถุนายน 2542
เรื่อง           : ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการให้กู้ยืมเงิน
ข้อกฎหมาย  : มาตรา 48มาตรา 50มาตรา 65 ตรีมาตรา 91/2มาตรา 104
ข้อหารือ      :
     บริษัทฯ จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการขอกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์เป็นอย่างมาก เพราะธนาคารพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทฯ น้อยมาก ทำให้เป็นปัญหากับบริษัทฯ อย่างยิ่ง บริษัทฯ จึงหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยแจ้งให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯกรรมการของบริษัทฯ และพนักงานของบริษัทฯ ว่าถ้าบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้มีเงินของตนเอง หากประสงค์จะให้บริษัทฯ กู้ยืม บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะกู้ยืมโดยให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.0 ต่อปี และบริษัทฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นรายเดือน แต่มีเงื่อนไขว่าเงินที่บุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นนำมาให้บริษัทฯ กู้ จะต้องเป็นเงินของตนเองเท่านั้น จะนำเงินของคนอื่นมารวมให้กู้ด้วยไม่ได้เป็นอันขาด และในการกู้ยืมดังกล่าว บริษัทฯ จะทำสัญญากู้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกคน ขอทราบว่า
       1. ในกรณีที่บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยให้กับบุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายหรือไม่ ถ้าต้องหักจะต้องหักในอัตราใด
         2. บุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว จะมีสิทธิเลือกไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับจากบริษัทฯ มารวมยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีตอนสิ้นปีได้หรือไม่
      3. การที่บุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว นำเงินของตนเองมาให้บริษัทฯ กู้ตามข้อเท็จจริงข้างต้น และได้รับดอกเบี้ยจากบริษัทฯ เป็นรายเดือนจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ และถ้าบริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยให้ปีละครั้งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ ถ้าต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ให้กู้จะต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
        4. สัญญากู้ยืมจะต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และถ้าจะต้องปิดอากรแสตมป์จะต้องซื้ออากรแสตมป์มาปิดทับ หรือต้องเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
       5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ จ่ายกับผู้ให้กู้ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ และพนักงานของบริษัทฯ จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีได้หรือไม่
แนววินิจฉัย   :
       1. กรณีตาม 1 และ 2 บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บุคคลผู้ให้กู้ยืมบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 ตามมาตรา 50 (2) (ข) แห่งประมวลรัษฎากรและบุคคลผู้ให้กู้ยืมดังกล่าว มีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
        2. กรณีตาม 3 การที่บุคคลธรรมดาผู้ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทฯ ได้นำเงินของตนเองมาให้บริษัทฯ กู้ยืมหากบุคคลดังกล่าวมิได้มีการประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อน และการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว มิได้มีการหาเงินจากที่อื่นมาโดยการกู้ยืมอยู่ด้วย การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด
       3. กรณีตาม 4 สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวต้องเสียอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร 5. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยวิธีการปิดแสตมป์ทับเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน
        4. กรณีตาม 5 บริษัทฯ จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บุคคลผู้ให้กู้ยืม หากเป็นการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทฯ บริษัทฯ ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้          : 62/27909





มาอ่าน ของ สรรพากร ดีกว่า...
            คำพิพากษาฎีกาที่ 1438/2548
                      บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ จำกัดโจทก์
                      กรมสรรพากร
จำเลย
                      เรื่อง หน้าที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ,กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย,รายจ่ายของค่าเช่า
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 27 ทวิ 65 แห่งประมวลรัษฎากร


                     โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระตามการประเมินจำนวน 50,857.42 บาท คงอุทธรณ์เฉพาะขอให้งดหรือลดเงินเพิ่มเท่านั้น ส่วนเบี้ยปรับไม่มีการเรียกเก็บ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนของเงินภาษีไม่ได้ คงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนในส่วนของเงินเพิ่มตามที่ได้อุทธรณ์คัดค้านไว้ สำหรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้งดหรือลดเงินเพิ่มนั้น ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลงดเงินเพิ่มได้ ส่วนการลดเงินเพิ่ม      ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 27 กำหนดไว้
              เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นใบแจ้งหนี้ซึ่งแสดงว่าโจทก์มีรายได้ตามเอกสารดังกล่าวแต่มิใช่เอกสารที่แสดงว่าจำนวนเงินหรือรายได้ที่ระบุใบเอกสารนั้นได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายได้แล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีเอกสารหลักฐานอื่น เช่น
   สมุดบัญชีมาเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนว่ารายได้จำนวนดังกล่าวได้บันทึกรายได้ของโจทก์แล้ว จึงรับฟังไม่ได้
  การประเมินรายการนี้ชอบแล้ว


             โจทก์ไม่มีเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากกรรมการของโจทก์ ทั้งจำนวนที่อ้างว่าการกู้ยืม ก็มีหน่วยย่อยถึงหลักร้อยหลักสิบและเศษสตางค์นับว่าเป็นข้อพิรุธเพราะในปี 2538 กิจการของโจทก์มียอดรายได้กว่า       100 ล้านบาท ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะกู้ยืมงินที่มีเศษจำนวนย่อยเช่นนี้ สำหรับหนังสือรับรองที่ระบุว่า ส. รับรองว่าโจทก์       กู้ยืมเงินเมื่อเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2538 จำนวน 5 ล้านบาทและ 1,340,680.58 บาท ทำขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2541 หลังจากเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว จึงไม่มีน้ำหนักควรแก่การ    รับฟัง  ส่วนรายการตามงบดุลของโจทก์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 ที่ระบุว่าโจทก์มีเจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากกรรมการจำนวน 2,510,273.81 บาท
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงว่าเงินทั้งสองจำนวนมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด     พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเงินจำนวน 6,340,680.58 บาท เป็นเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินจากกรรมการ เงินจำนวน   ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในระยะเวลาบัญชีและต้องนำมาคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ   ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มิใช่กรณีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(4)


                   ในการนำรายได้และรายจ่ายมาคำนวณกำไรสุทธิประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคสอง บัญญัติให้ใช้      เกณฑ์สิทธิโดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นและให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แม้โจทก์จะได้จ่ายค่าเช่าสถานที่จำนวน 224,299.07 บาท ไปในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 แต่เมื่อค่าเช่าสถานที่จำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสำหรับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่          1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2539 จึงนำมาถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ทั้งจำนวนไม่ได้  แต่ต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยตามส่วนของระยะเวลาการเช่าและนำค่าเช่าส่วนที่อยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 มาถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538
edit : 13/03/2562 blog แจ้งมาว่ามีข้อความลิขสิทธิ์ ซึ่งเราก็ใส่เครดิสแล้ว. สงสัยเจ้าของไม่อยากนำเสนอ ลบทิ้งเลยดีกว่า.. 





ความคิดเห็น

  1. เงินทุนจดทะเบียนถ้าไม่อยู่ในรูปบัญชีธนาคารของบริษัท สรรพากร ก็จะคิดให้เป็นเงินกู้ยืม ให้คิดดอกเบี้ยตามเงินกู้ยืมปัจจุบัน ล้านละประมาณ 2,000 บาทต่อปี

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฟอร์มใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ของ บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้ (ประเทศไทย) จำกัด        เขียนที่    บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) วันที่  5  เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 เรื่อง       ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เรียน      กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น  บริษัท     ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) จำกัด                 ข้าพเจ้า  นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย    ตำแหน่งกรรมการบริษัท    ยิ่งค้ายิ่งรวย   ช่วยไม่ได้  (ประเทศไทย) จำกัด  มีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ  ของบริษัท ฯ  เนื่องด้วยเหตุผลไปประกอบกิจการอื่น จึงขอสิ้นสุดการทำงานตั้งแต่ วันที่ 5 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2555                 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ                                                                    ขอแสดงความนับถือ                                                           ……………………………………..                                                                    (นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย  )                                                                    

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น ของ บริษัท xxxxxxxxxxxxxxx จำกัด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553                    บริษัท ปปปปปปปปปปปปป จำกัดได้รับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น เป็นเงิน สี่แสนบาทถ้วน (400,000) จาก ปปปปปปปปปปปปป เพื่อเป็นค่าหุ้น จำนวน สี่พัน (4,000) หุ้น จากการจัดตั้ง บริษัท ปปปปปปปปปปปปปปป จำกัด   โดยชำระเป็นเงินสด สี่แสนบาทถ้วน (400,000) หรือเช็คธนาคาร - สาขา - เช็คเลขที่ - ลงวันที่ - ไว้เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ....................................................ผู้รับเงิน (ปปปปปปปปปปปป) กรรมการ / หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อมูลนี้อยู่ในส่วน การ รับจะทะเบียนบริษัท