ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คำเตือน จาก คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า-การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว


คำเตือน 

คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เรื่องการใช้ “นอมินี” ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
................................................................................
ตามที่มีข่าวว่ามีนายทุนต่างชาติได้เข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับการปลูกข้าวโดยว่าจ้างคนไทยให้ถือหุ้นแทนหรือให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ในลักษณะ”นอมินี” เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยง หรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขอเรียนชี้แจงว่าการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร อาทิเช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การทำการประมง และธุรกิจอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นธุรกิจที่สงวนไว้ให้คนไทยโดยห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยเด็ดขาด ซึ่งคนต่างด้าวที่ถูกห้ามประกอบธุรกิจดังกล่าว ได้แก่
                 1.  บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
                 2.  นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
                 3.  นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีหุ้นหรือทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคล   หรือนิติบุคคลตาม(1) หรือ(2) หรือมีหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม(1)
                4.  นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยมีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลตาม(1)(2) หรือ(3)
คนต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกอบธุรกิจที่ห้ามดังกล่าว มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี    หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึง หนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกประกอบธุรกิจ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท สำหรับคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุน หรือร่วมประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว เข่นการถือครองหุ้นแทนคนต่างด้าว การแสดงออกว่าธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจของตนเองเพื่อให้คนต่างด้าวหลีกเลี่ยงประกอบธุรกิจที่ต้องห้าม ต้องได้รับในอัตราโทษเดียวกัน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและติตามสถานการณ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลหรือหลักฐานการกระทำความผิดในท้องที่ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากมีการกระทำความผิดของกลุ่มนายทุนต่างชาติหรือคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนคนต่างด้าวให้ประกอบธุรกิจโดยฝ่าฝืนกฎหมายจริงย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงใคร่ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกท่านหากผู้ใดพบเห็น มีข้อมูล หรือเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวขอให้แจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทราบด้วย สำหรับในต่างจังหวัดสามารถแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัด  สำนักงานพาณิชย์จังหวัด  หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดได้ทุกแห่ง
จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
…………………………..……………………….

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  โทร. ๐๕๓-๖๑๒๗๔๒  E-mail Address : maehongson@dbd.go.th
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -  - - - - - - -  -

บัญชีหนึ่ง
          ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ
          (๑) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
          (๒) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
          (๓) การเลี้ยงสัตว์
          (๔) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
          (๕) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย
          (๖) การสกัดสมุนไพรไทย
          (๗) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
          (๘) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
          (๙) การค้าที่ดิน

บัญชีสอง
          ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          หมวด ๑ ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
               (๑) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง
                    (ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด
                    (ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
                    (ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร
                    (ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท
               (๒) การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ

          หมวด ๒ ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน
               (๑) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
               (๒) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
               (๓) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย
               (๔) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
               (๕) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
               (๖) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

          หมวด ๓ ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
               (๑) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย
               (๒) การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์
               (๓) การทำเกลือหิน
               (๔) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
               (๕) การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

บัญชีสาม
           ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว
               (๑) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
               (๒) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
               (๓) การทำป่าไม้จากป่าปลูก
               (๔) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
               (๕) การผลิตปูนขาว
               (๖) การทำกิจการบริการทางบัญชี
               (๗) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
               (๘) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
               (๙) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
               (๑๐) การก่อสร้าง ยกเว้น
                    (ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการ พื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีหรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป 
                    (ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
               (๑๑) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
                    (ก) การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้า เกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์
                    (ข) การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
                    (ค) การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะ เป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
                    (ง) การเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
               (๑๒) การขายทอดตลาด ยกเว้น
                    (ก) การขายทอดตลาด ที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
                    (ข) การขายทอดตลาด ประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
               (๑๓) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
               (๑๔) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
               (๑๕) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
               (๑๖) การทำกิจการโฆษณา
               (๑๗) การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
               (๑๘) การนำเที่ยว
               (๑๙) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
               (๒๐) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
               (๒๑) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๘๑ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ออกใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และมีหลักการบางประการไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเสียใหม่ เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยโดยส่วนรวม ทั้งยังเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับ พันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฟอร์มใบลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ของ บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้ (ประเทศไทย) จำกัด        เขียนที่    บริษัท  ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) วันที่  5  เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 เรื่อง       ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เรียน      กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น  บริษัท     ยิ่งค้ายิ่งรวย ช่วยไม่ได้   (ประเทศไทย) จำกัด                 ข้าพเจ้า  นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย    ตำแหน่งกรรมการบริษัท    ยิ่งค้ายิ่งรวย   ช่วยไม่ได้  (ประเทศไทย) จำกัด  มีความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ  ของบริษัท ฯ  เนื่องด้วยเหตุผลไปประกอบกิจการอื่น จึงขอสิ้นสุดการทำงานตั้งแต่ วันที่ 5 เดือน  มีนาคม พ.ศ. 2555                 จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ                                                                    ขอแสดงความนับถือ                                                           ……………………………………..                                                                    (นายอ่อนระทวย  ไข่ไม่ย้วย  )                                                                    

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี

สัญญาว่าจ้างในการจัดทำบัญชี                                                                                                                        ทำที่  หจก.         วันที่ 7 มกราคม 2557                                 สัญญานี้ทำขึ้นเมื่อวันที่   7   มกราคม 2557   ระหว่าง  นายรับทำบัญชี พร้อมปิดงบ    ตั้งอยู่ที่ xxx   หมู่ที่ xx ต.xxx อ.xxx จ.xxx  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ให้บริการด้านบัญชี ”      ฝ่ายหนึ่ง                                     กับ   บริษัท/หจก/ร้าน   อยู่บ้านเลขที่  xx   ต.xxx อ.xxx จ.xxx    ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า   “ ผู้ว่าจ้าง ”     อีกฝ่ายหนึ่ง                                 ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้  มีทั้งหมด 7 ข้อ    ข้อ 1.     ขอบเขตของงาน  (ให้อ้างอิงจาก ใบเสนอราคา xxx QT57-01-001) 1.1             บันทึกบัญชีประจำเดือน รายงานทางการเงินประจำเดือน  (เอกสารไม่เกิน 700-1,000 บิลต่อเดือน (เอกสารการลงบันทึกบัญชีหากมีปริมาณมาก จะเพิ่มราคาตามสัดส่วน 1.2             จัดทำแบบรายการเสียภาษีประจำเดือน คือ

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น

ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น ของ บริษัท xxxxxxxxxxxxxxx จำกัด วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553                    บริษัท ปปปปปปปปปปปปป จำกัดได้รับชำระเงินค่าหุ้น/เงินลงหุ้น เป็นเงิน สี่แสนบาทถ้วน (400,000) จาก ปปปปปปปปปปปปป เพื่อเป็นค่าหุ้น จำนวน สี่พัน (4,000) หุ้น จากการจัดตั้ง บริษัท ปปปปปปปปปปปปปปป จำกัด   โดยชำระเป็นเงินสด สี่แสนบาทถ้วน (400,000) หรือเช็คธนาคาร - สาขา - เช็คเลขที่ - ลงวันที่ - ไว้เรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ....................................................ผู้รับเงิน (ปปปปปปปปปปปป) กรรมการ / หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อมูลนี้อยู่ในส่วน การ รับจะทะเบียนบริษัท